"ข้าวปลอดสาร ชาวบ้านคิด ทอผ้าขิดแพรวา ประชาราษฎร์ไฝ่ธรรม งามล้ำบุญประเพณี สามัคคีร่วมคิด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพลังแผ่นดิน" * องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ โทร 0-4552-3918 *  

 
เข้าดูหน้านี้ 26


แนะนำการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
   ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

 

หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่าง อื่น ๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น  และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สินนั้น เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่น อยู่อาศัย หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย

ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

- เจ้าของทรัพย์สิน

- เจ้าของโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง และเจ้าของที่ดินเป็นคนละเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีทรัพย์สินนั้นทั้งหมด

ทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ

1.   พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน

2. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของรถไฟโดยตรง

3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรือนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะให้การรักษาพยาบาลและในการศึกษา

4.     ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์

5.   โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน

6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า ประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้

7.   โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้า ซึ่งมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบกิจการหารายได้

การคำนวณภาษีการประเมินค่ารายปีและอัตราภาษี

       -   กรณีมีการให้เช่า หรือค่าเช่ารายเดือนหรือรายปี คิดเป็นค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

- กรณีหาค่าเช่าไม่ได้หรือไม่สมควรเช่าเนื่องจากเจ้าของประกอบกิจการเอง ให้ประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินในปีที่ผ่านมา หรือเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินในบริเวณใกล้เคียงกันที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตท้องถิ่นเดียวกัน

-   กรณีไม่สามารถเทียบเคียงได้ อาจประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินมาประกอบการประเมินได้

ขั้นตอนการชำระภาษี

1. เจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

2.      พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาแบบ

3.      พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ประเภทของทรัพย์สินค่ารายปี และค่าภาษี

4.      พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกแบบแจ้งการประเมิน
(ภ.ร.ด.8) และต้องไปชำระค่าภาษีต่อพนักงานเก็บภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม

การลดค่าภาษีหรือปลดภาษี

- ปรากฏว่าผู้รับการประเมินได้เสียหายเพราะทรัพย์สินว่างลงหรือชำรุดต้องซ่อมแซมส่วนสำคัญ โดยลดส่วนตามเสียหายหรือปลดภาษีทั้งหมดก็ได้ โดยผู้รับประเมินต้องยื่นคำร้อง

- เมื่อยกเลิกกิจการ ต้องแจ้งให้ อ.บ.ต.ทราบก่อน

วิธีการชำระภาษี

- ชำระเป็นเงินสด

- ชำระทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ธนาณัติ  ตั๋วแลกเงิน

- การผ่อนชำระภาษี กรณีภาษีต้องชำระเกิน 3,000 บาท สามารถแบ่งชำระเป็นงวดๆ ละเท่าๆ กัน ไม่เกิน 3 งวด

ระยะเวลาและสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการ

เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล หรือสถานที่อื่นที่กำหนด ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

อัตราโทษและค่าเงินเพิ่ม

1.      ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี

2.      ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือบริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี

3.      ถ้าชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ถัดจากวันที่ได้แจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้

3.1  ไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี

3.2  ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง

3.3  ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง

3.4 ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง

3.5  ถ้าเกิน 4 เดือนขึ้นไป ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งยึดอายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด

การอุธรณ์

                ผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมิน หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประเมินภาษี มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น (แบบ ภ.ร.ด.9) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อได้รับแจ้งผลชี้ขาดแล้วยังไม่พอใจ มีสิทธินำเรื่องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับทราบคำชี้ขาด

 

องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน

อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน

อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร

โทรศัพท์.042737510 ต่อ 20,21 โทรสาร 042737510 ต่อ 16



 
 
 
 
 
 
 
085-497-3995


วัน พฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน 2567


สาระดีๆจากศาลปกครอง
banner-OpenData
ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อราชการร่วมประเมิน ITA การให้บริการของหน่วยงาน (3)
QRcode line
Untitled-2
Untitled-1
choknuea_imagehover_2021-11-21-06-45-33
image-6138
ITALogo1
e mail
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ อบต.ห้วยไร่
เข้าสู่ระบบ
facebook
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
คลังข่าวมหาดไทย
bangkokidea
อำนาจเจริญ
ร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สายด่วนรัฐบาล
ท้องถิ่นอำนาจเจริญ
สันนิบาตแห่งประเทศไทย
ร้องทุกข์
ททท
สสส
กระทรวงมหาดไทย
กรมพัฒนาชุมชน
กรมการค้าภายใน
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
ธกส.
กรมสรรพากร
กรมตรวจเงินแผ่นดิน
ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ
กรมอุตุนิยมวิทยา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น