เทศบาลตำบลโรงช้าง ยินดีต้อนรับ  พบเห็นไฟฟ้าสาธารณะดับและชำรุด แจ้ง 035-769540,035-769542 ต่อ 109  พบเห็นท่อน้ำประปาแตกและชำรุด แจ้ง 035-769540,035-769542 ต่อ 114 

 
เข้าดูหน้านี้ 148


กฎหมายกำกับดูแลการค้าข้าว
กฎหมายกำกับดูแลการค้าข้าว : ความรู้ บทความ เทศบาลตำบลโรงช้าง


กฎหมายกำกับดูแลการค้าข้าว

 ค้าๆ ขายๆ กับกฎหมายธุรกิจ : สกล หาญสุทธิวารินทร์ กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551

                 ข้าวเป็นอาหารหลักที่เลี้ยงคนอยู่ครึ่งโลก มีประเทศที่ปลูกข้าวในโลกนี้ประมาณ 114 ประเทศ ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเอเชียประมาณ 90% ประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย รองลงไปคือประเทศในแอฟริกา ประเทศที่บริโภคข้าวและปลูกข้าวมีผลผลิตพอเพียงบริโภคภายใน และเหลือส่งออกมีไม่กี่ประเทศ นอกจากนั้นต้องพึ่งพาการนำเข้า

                 ประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้ามีมากมายหลายประเทศ หลายๆ ประเทศเป็นประเทศที่ยากจน หากผลผลิตข้าวโลกลดต่ำลง หรือความต้องการข้าวมีปริมาณสูงขึ้นจนปริมาณข้าวที่มีอยู่ไม่สามารถสนองความต้องการของการบริโภค ย่อมเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะประเทศที่ยากจน ดังเช่นเหตุการณ์ราคาข้าวที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคข้าวหลายประเทศ

                 ประเทศที่ปลูกข้าวหรือบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักถือว่าข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญ หลายประเทศ ไม่ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาหลายประเทศ จึงมีกฎหมายกำกับดูแลการค้าข้าว ไม่ว่าจะเป็นการค้าภายใน หรือนำเข้าส่งออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อิหร่าน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

                 สำหรับประเทศไทย สามารถกล่าวได้ว่าข้าวเป็นอาหารประจำวันและเป็นอาหารหลักของคนไทยเกือบทั้งประเทศ มีอัตราการบริโภคเป็นอันดับหกของโลก และก็สามารถปลูกข้าวมีปริมาณเป็นอันดับหกของโลกเช่นเดียวกับอัตราการบริโภค ผลผลิตมีปริมาณเกินความต้องการบริโภคภายในจนสามารถส่งออกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันมาสิบกว่าปีแล้ว ข้าวเป็นแหล่งที่มาของรายได้สำคัญของชาวนาไทยที่มีอยู่หลายล้านคน ประเทศไทยถือว่าข้าวเป็นสินค้าสำคัญ ต้องมีการกำกับดูแลการค้าข้าว เช่นเดียวกับหลายประเทศที่กล่าวถึงข้างต้น จึงมีกฎหมายที่กำกับดูแลการค้าข้าวมานานแล้ว

                 กฎหมายที่กำกับดูแลการค้าข้าวที่สำคัญในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช 2489 และพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงพาณิชย์ออกตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมการนำเข้าส่งออก ซึ่งสินค้าที่กำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออก

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 อาจสรุปได้ดังนี้

                 กำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งเรียกว่า คณะกรรมการปฏิบัติการพระราชบัญญัติการค้าข้าวพุทธศักราช 2489

  • คณะกรรมการมีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้
  • ในเขตควบคุมการค้าข้าวคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดประเภทผู้ค้าข้าว กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวที่ต้องขออนุญาต
  • กำหนดห้ามขายข้าวเกินราคาที่กำหนด และกำหนดราคาข้าวขั้นต่ำที่ต้องซื้อจากชาวนา
  • สั่งห้ามซื้อขายข้าวเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
  • ให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว
  • สั่งให้ผู้ครอบครองข้าวต้องขายข้าวแก่บุคคลตามราคาและปริมาณที่คณะกรรมการกำหนด
    จะเห็นได้ว่าการกำกับดูแลการค้าข้าวตามกฎหมายดังกล่าวมีอำนาจมากและค่อนข้างกว้างขวาง ปัจจุบันมีการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวเพียงบางเรื่องเท่าที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลการค้าข้าว สรุปได้คือ
  • กำหนดให้เขตท้องที่ทุกจังหวัดเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว
  • กำหนดประเภทผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นแปดประเภท
  • ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเพียงสี่ประเภทที่ต้องขออนุญาต คือประเภทค้าข้าวส่งออก ประเภทโรงสีขนาดกลางและใหญ่ ประเภทขายส่ง และประเภทท่าข้าว

                 ในการออกใบอนุญาตมีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติที่สำคัญ เช่น กรณีเป็นผู้ส่งออก ต้องมีสต็อกข้าวของตนเองเก็บไว้ตลอดเวลาไม่น้อยกว่า 500 ตัน กรณีเป็นโรงสีและท่าข้าวต้องใช้เครื่องชั่ง และเครื่องวัดความชื้นที่ผ่านการรับรอง ต้องไม่เอาเปรียบชาวนาในการซื้อข้าวจากชาวนา ไม่ปลอมปนข้าว เป็นต้น

                  สำหรับการกำกับดูแลการค้าข้าวตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้านั้น เป็นการกำกับควบคุมดูแลออกใบอนุญาตให้นำเข้าและส่งออก โดยอาจออกประกาศเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า และส่งออกก็ได้

                  จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าไทยมีกฎหมายที่กำกับดูแลการค้าข้าว ที่ค่อนข้างกว้างขวางครบเครื่อง ในสถานการณ์จำเป็นเกรงว่าอาจเกิดการขาดแคลนข้าว หรือมีการกักตุนข้าวสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายดำเนินการได้ เช่นกำหนดราคาขาย สั่งให้ผู้มีข้าวขายข้าวตามที่กำหนด ไม่ออกใบอนุญาตให้ส่งออก หรือจะเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับข้าวที่ส่งออกก็ได้

                 สำหรับประเด็นที่เกรงว่าไทยจะขาดแคลนข้าวนั้น ไม่น่าจะเกิด เพราะไทยเป็นประเทศที่ผลิตข้าวส่งออกข้าว เลี้ยงคนในโลกมามากมาย ยังมีสต็อกคงเหลือมากพอเพียงทั้งของรัฐบาล ของโรงสี ผู้ขายส่ง และผู้ส่งออกโดยเฉพาะผู้ส่งออกอย่างน้อยแต่ละรายต้องมีสต็อกเก็บไว้ตลอดเวลาไม่น้อยกว่า 500 ตัน พ้นฤดูทำนาปี ก็ถึงเวลาทำข้าวนาปรัง ผลผลิตทยอยออกมาเกือบไม่ขาดตอน

                 หากบริหารจัดการการกำกับดูแลการค้าข้าวให้ดีๆ ปัญหาการขาดแคลนข้าวจะไม่เกิดแน่นอน การบริหารจัดการกำกับดูแลการค้าข้าวที่ดีไม่ให้เกิดปัญหาควรต้องดำเนินการด้านต่างๆ อย่างสมดุล จะหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่นเน้นการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือเน้นด้านการตลาด หรือเน้นด้านให้ได้ราคาสูงๆ เพียงอย่างเดียวจะมีปัญหากระทบตามมาหลายประการ เช่น ก่อผลกระทบต่อกลไกการตลาดอาจเกิดการเก็งตลาด เป็นต้น

                 ราคาข้าวที่ขายได้ควรต้องสูงขึ้นตามสถานการณ์การค้าและภาวะตลาดโดยให้ตกถึงมือชาวนาอย่างแท้จริง แต่ราคาข้าวที่จะใช้กลไกจัดการให้สูงขึ้นควรต้องคำนึงถึงกำลังซื้อของประเทศบริโภคข้าวที่ยากจน และควรคำนึงในแง่จิตวิทยาในด้านการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจลูกค้าเก่าประเทศคู่ค้าเก่าด้วย อย่าให้เขาเข้าใจว่าได้โอกาสจะโขกราคาสูงๆ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งระยะสั้น และการค้าข้าวระยะยาวในอนาคตได้

ที่มา : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008april22p3.htm

 




 
 
 
 
 
 
 
นางอัฏฐวัฒน์ บรรจงพินิจ
นายกเทศมนตรีตำบลโรงช้าง
หมายเลขโทรศัพท์ : 062-3789191

วัน พุธ ที่ 23 ตุลาคม 2567

สาระดีๆจากศาลปกครอง
E-service
facebook
ตลาดแรงงาน
ศูนย์
คืนความสุขให้คนในชาติ
aec
พระนครศรีอยุธยา
MembersLogin
เช็คMail
ท้องถิ่นจังหวัด
google
bangkokidea
กองทุนบำเหน็จข้าราชการ
กรมสรรพากร
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
กรมอาเซียน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมบัญชีกลาง
กระทรวงมหาดไทย
ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ
สายด่วนรัฐบาล
สํานักงาน กพ
กรมการค้าภายใน
กรมพัฒนาชุมชน
สันนิบาตแห่งประเทศไทย
OTOP
13ฟอนต์แห่งชาติ
จัดซื้อ-จัดจ้าง
ททท
สสส
เดลินิวส์
ไทยรัฐ
ดูทีวีออนไลน์

เทศบาลตำบลโรงช้าง

LIVE CHAT ติดต่อเจ้าหน้าที่
เริ่มแชท