เทศบาลตำบลโรงช้าง ยินดีต้อนรับ  พบเห็นไฟฟ้าสาธารณะดับและชำรุด แจ้ง 035-769540,035-769542 ต่อ 109  พบเห็นท่อน้ำประปาแตกและชำรุด แจ้ง 035-769540,035-769542 ต่อ 114 

 
เข้าดูหน้านี้ 36


วิจัยพบสมุนไพรไทยไปโลด

วิจัยพบสมุนไพรไทยไปโลด

วิจัยพบสมุนไพรไทยไปโลด
มีการพบผลการวิจัยสมุนไพรน่าสนใจมากมายจากการนำเสนอผลงานวิจัยสมุนไพร ในการประชุมเสนอผลงานวิชาการด้านการแพทย์ไทย วันแรกนักวิจัยไทยมีผลงานหนุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยหลายตัว เช่น

ลูกใต้ใบ

1. พบลูกใต้ใบ สมุนไพรที่คนไทยใช้รักษาโรคตับ, แก้ไข้ เมื่อทดลองในสัตว์ทดลองพบ นอกจากจะไม่มีพิษแล้ว ยังป้องกันความเป็นพิษต่อตับของพาราเซตตามอลในสัตว์ทดลองอีกด้วย ผลการวิจัยนี้จะช่วยในการดำเนินการวิจัยในคนต่อไป อย่างไรก็ตามมีผู้นำเอาลูกใต้ใบมาใช้อยู่แล้ว สรรพคุณโบราณ คือ ใช้แก้ดีซ่าน การทดลองครั้งนี้เป็นการทดลองซ้ำและยืนยันว่า "ลูกใต้ใบสามารถป้องกันการเกิดภาวะตับอักเสบ จากการกินยาแก้ปวดที่มีพิษต่อตับได้ในสัตว์ทดลอง" ส่วนการนำมาอ้างอิงในคนจะทดลองอีกต่อไป

ขี้เหล็ก

2. พบขี้เหล็ก ผักพื้นบ้านไทยคลายเครียดได้ พบสารสำคัญ ชื่อ "บาราคอล" พบผลการวิจัยในสัตว์ทดลองว่า สามารถทำให้หลั่งสารสำคัญ ชื่อ "5-HT" เป็นสารที่ปกติคนที่มีความเครียดจะมีสารนี้ออกมาน้อย คนไหนกินแกงขี้เหล็กประจำหลับสบายถ่ายสะดวก ปัจจุบันมีการใช้ขี้เหล็กมาทำเป็นยานอนหลับกันมาก
ข้อควรระวัง: การนำขี้เหล็กมาใส่แคปซูลโดยตรง ไม่เหมือนที่คนโบราณ คือ ต้มกิน อาจมีผลต่อตับได้ ควรกินแบบอาหารและไม่ควรกินทุกวัน ซึ่งผลการวิจัยนี้ จะมีประโยชน์ในการทำยาอย่างปลอดภัยต่อไป สำหรับคนทั่วไปควรกินขี้เหล็กแบบอาหาร และควรต้มกินตามแบบดั้งเดิมเป็นบางครั้ง ไม่ควรกินติดต่อยาวนาน

ชา

3. วิจัยพบสมุนไพรเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพียบ เป็นที่ยอมรับว่าการมีสารอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินความจำเป็น เช่น ผู้ที่ชอบกินของปิ้ง, ย่าง, เผา, ผักผลไม้ที่มีสารปนเปื้อน สารพิษ ยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งเกิดอนุมูลอิสระขึ้นมากและการที่เราไม่ยอมกินอาหารประเภทผักผลไม้ จะทำให้ร่างกายมิได้กำจัดสารอนุมูลอิสระดังกล่าว คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ.ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ได้นำเอาสมุนไพรไทย ทดสอบความมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น สีเสียด, ใบช้าพลู, กานพลู, ชาแห้ง, เปลือกต้นสะเดา, ใบชาสด (เชียงใหม่), ชาจีน, หม่อน, เมล็ดมะขาม, สมอพิเภก, โกฏพุงปลา เป็นต้น เป็นการสร้างความมั่นใจว่า สมุนไพรไทยที่คนไทยนำมาใช้นั้น มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอยู่มากทีเดียว คนไทยควรกินผักผลไม้มากๆ เพื่อให้ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระทุกวัน

โลดทะนง

4. พบโลดทะนงแดง ต้านพิษงูเห่าได้ โลดทะนงเป็นสมุนไพรที่มีคำลำลือเกี่ยวกับการต้านพิษต่างๆ มากมาย แต่ยังขาดข้อมูลยืนยันทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการนำมาใช้กับพิษงูนั้นเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ผลการวิจัยนี้เป็นการยืนยันว่า "อาจจะเป็นจริง" เพราะในสัตว์ทดลองพบว่า ยืดอายุการตายของหนูที่โดนพิษงูเห่าได้ แต่มิได้หมายความว่าหนูรอดตาย อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันว่าสมุนไพรไทยมีฤทธิ์ตามที่กล่าวถึง 
ปัญหา คือ จะนำมาใช้อย่างไร การนำมาใช้ต้านพิษในคนไข้คงเสี่ยงเกินไป หากใช้แบบผสมผสานโดยยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาโดยใช้เซรุ่ม และอาจมีสมุนไพรร่วม เพื่อลดปริมาณการใช้เซรุ่มลงก็อาจจะเป็นได้ ซึ่งงานวิจัยนี้จะต้องทำการศึกษาต่อไปในการใช้ในคนต่อไป

ใบฝรั่ง

5. สมุนไพรก้าวไปไกลข้ามไปงานปศุสัตว์เสียแล้ว ผลงานวิจัยที่ฮือฮาและเป็นข่าวดีสำหรับ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร จากงานวิจัยของ คุณวิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์ เจ้าหน้าที่ของสถาบันการแพทย์แผนไทย ปฏิบัติราชการที่ศูนย์วัตถุดิบภาคใต้ โดยมีที่ปรึกษาคือ ดร.ยุทธนา ศิริวัฒนานุกูล และรศ.อรุณพร อิฐรัตน์ 
ได้มีการทดลองนำเอาฟ้าทะลายโจร และใบฝรั่ง ผสมอาหารให้สุกรกินแล้วศึกษาผลในลูกสุกรท้องร่วง ผลการวิจัยพบว่า การให้ใบฟ้าทะลายโจรและใบฝรั่งผสมอาหารให้ลูกสุกรกินแก้โรคท้องร่วงได้ และยังได้ผลพลอยได้จากงานวิจัยนี้ หากใช้ใบฟ้าทะลายโจร และใบฝรั่งในปริมาณต่ำลงครึ่งหนึ่งจากที่ใช้ในการรักษาท้องร่วง จะทำให้ลูกสุกรโตเร็วและแข็งแรง

ผู้วิจัยได้ให้คำแนะนำเกษตรกรว่า ถ้าเกิดโรคท้องร่วงในสุกร ให้ใช้ฟ้าทะลายโจร 500 mg , ใบฝรั่ง 1 g , ORS 500 mg ให้สุกรกิน เช้า-เย็น 1-2 วัน อาการท้องร่วงจะหายไป หรือ ถ้าต้องการเพิ่มความต้านทานในสุกร คือ กินอาหารเก่ง โตเร็ว แข็งแรงให้ใช้ขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง คือ ฟ้าทะลายโจร 250 g, ใบฝรั่ง 0.5 g จะทำให้สุกรที่กินอาหารผสมฟ้าทะลายโจรและใบฝรั่ง โตเร็ว แข็งแรง เป็นการประหยัดการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะทำให้สะสมซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้บริโภคเนื้อสุกร นับเป็นผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง 
จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาของไทยในการเลี้ยงสัตว์ก็มีการใช้สมุนไพร สูตรยาโบราณที่ใช้กับสัตว์ก็มีมากมาย ที่ขาดความสนใจในอดีต ซึ่งต่อไปนี้ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้มีการคุ้มครองรวมถึงสูตรยาที่ใช้กับสัตว์อีกด้วย

ที่มา : สถาบันการแพทย์แผนไทย

 



 
 
 
 
 
 
 
นางอัฏฐวัฒน์ บรรจงพินิจ
นายกเทศมนตรีตำบลโรงช้าง
หมายเลขโทรศัพท์ : 062-3789191

วัน พุธ ที่ 23 ตุลาคม 2567

สาระดีๆจากศาลปกครอง
E-service
facebook
ตลาดแรงงาน
ศูนย์
คืนความสุขให้คนในชาติ
aec
พระนครศรีอยุธยา
MembersLogin
เช็คMail
ท้องถิ่นจังหวัด
google
bangkokidea
กองทุนบำเหน็จข้าราชการ
กรมสรรพากร
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
กรมอาเซียน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมบัญชีกลาง
กระทรวงมหาดไทย
ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ
สายด่วนรัฐบาล
สํานักงาน กพ
กรมการค้าภายใน
กรมพัฒนาชุมชน
สันนิบาตแห่งประเทศไทย
OTOP
13ฟอนต์แห่งชาติ
จัดซื้อ-จัดจ้าง
ททท
สสส
เดลินิวส์
ไทยรัฐ
ดูทีวีออนไลน์

เทศบาลตำบลโรงช้าง

LIVE CHAT ติดต่อเจ้าหน้าที่
เริ่มแชท